top of page

รับสมัครแพทย์ประจำบ้าน สาขาพยาธิวิทยากายวิภาค จำนวน 1 ตำแหน่ง รอบที่ 2 ปี 2568




หลักการและเหตุผล

เพื่อเป็นแนวทางการคัดเลือกผู้สมัครที่เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรแพทย์ประจำบ้านสาขาพยาธิวิทยากายวิภาค และให้มั่นใจได้ว่าจะได้ผู้สมัครที่มีคุณสมบัติที่สอดคล้องต่อพันธกิจของหลักสูตร ทั้งด้านความรู้ความสามารถ และทักษะการปฏิบัติงานทางพยาธิวิทยากายวิภาคให้ผ่านตามเกณฑ์มาตราฐานการฝึกอบรมของราชวิทยาลัยพยาธิแพทย์แห่งประเทศไทยคำนึงถึงระบบบริการสุขภาพ ความรับผิดชอบต่อสังคมภาควิชาพยาธิวิทยา จึงได้กำหนดเกณฑ์ในการคัดเลือกผู้เข้ารับการฝึกอบรม เพื่อเป็นพยาธิแพทย์ในอนาคต

 

ขั้นตอนการรับสมัครแพทย์ประจำบ้าน สาขาพยาธิวิทยากายวิภาค (Anatomic Pathology)


ขั้นตอนที่ 1 : คุณสมบัติของการสมัคร

 คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์สมัครแพทย์ประจำบ้าน สาขาพยาธิวิทยากายวิภาค ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

  1. สำเร็จการศึกษาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต และการขึ้นทะเบียนประกอบวิชาชีพเวชกรรมจากแพทยสภาแล้ว/เทียบเท่าที่แพทยสภารับรอง หรือกำลังศึกษาอยู่ในชั้นปีสุดท้ายและจะสำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต ก่อนวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2568

  2. ผู้สมัครต้องมีต้นสังกัด

  3. ได้รับการขึ้นทะเบียนประกอบวิชาชีพเวชกรรมจากแพทยสภา

  4. ผู้สมัครต้องมีคุณสมบัติตามเกณฑ์การรับสมัครแพทย์ประจำบ้านสาขาพยาธิวิทยากายวิภาคของ ราชวิทยาลัยพยาธิแพทย์แห่งประเทศไทย ที่ 8/2567 เรื่องการรับสมัครแพทย์ประจำบ้านและการขอขึ้นทะเบียนแพทย์ใช้ทุน/แพทย์ปฏิบัติงานเพื่อการสอบวุฒิบัตรฯ ประจำปีการฝึกอบรม 2568 รอบที่ 2 โดยไม่ขัดกับข้อบังคับ ประกาศ และนโยบาลของแพทยสภาตามลิงค์นี้

  5. ไม่เป็นผู้ที่มีประพฤติกรรมเสี่ยมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรม และจริยธรรม

  6. ต้องมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงและปราศจากโรค อาการของโรค หรือความพิการอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาการปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ตามประกาศของกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย เรื่องคุณสมบัติเฉพาะของผู้สมัครเข้าศึกษาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ฉบับ พ.ศ.2559 และไม่มีคุณสมบัติที่ขัดต่อระเบียบของแพทยสภา

 

ขั้นตอนที่ 2 วิธีการสมัคร

ผู้ประสงค์สมัครเข้ารับการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านสาขาพยาธิวิทยากายวิภาค ปีการฝึกอบรม 2568

รอบที่ 2 (แผน ก) : วันที่ 18-31 มีนาคม 2568 ในระบบของราชวิทยาลัยพยาธิแพทย์ฯ สามารถกรอกใบสมัครด้วยตนเองทางแล้วพิมพ์ยื่นพร้อมหลักฐานต่างๆ ณ ราชวิทยาลัยพยาธิแพทย์แห่งประเทศไทย ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ของราชวิทยาลัยฯ ตามลิงค์ดังนี้

 

ขั้นตอนที่ 3  กำหนดวันสอบ

 วันที่ 24 เมษายน 2568  โดยให้มารายงานตัวภายในเวลา 08.00 น.

 ณ ห้องธุรการภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอาคาร อปร. ชั้น 13

 

 ขั้นตอนที่ 4  วิธีการสอบ

1. เวลา 08.00 น. รายงานตัว ณ ห้องธุรการภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาคาร อปร.ชั้น 13

2. เวลา 08.30-09.00 น. การสอบภาคทฤษฎี  single best answers (SBAs) โดยมีเนื้อหาการสอบ

คลิ๊กตามนี้ ณ ห้อง 1227 อาคาร อปร.12

  1. เวลา 09.00 น.สอบสัมภาษณ์ : เวลา 10.00 น.

 โดยคณะกรรมการ ใช้เวลาคนละประมาณ 10-15 นาที

 เสร็จสิ้นการสัมภาษณ์ ผู้สมัครสามารถเดินทางกลับได้ โดยผลการคัดเลือกจะแจ้งผ่านทางเว็บไซต์ราชวิทยาลัยพยาธิแพทย์แห่งประเทศไทย

หมายเหตุ: ผลการคัดเลือกโดยคณะกรรมการของสถาบันถือเป็นที่สิ้นสุด ผู้สมัครที่ประสงค์ยื่นคำอุทธรณ์ต่อผลการคัดเลือก สามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มจากเว็บไซต์ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

หลักเกณฑ์การคัดเลือก

ภาควิชาฯ  มีการแต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกผู้สมัครเข้ารับการฝึกอบรมเป็นแพทย์ประจำบ้านสาขาพยาธิวิทยากายวิภาค ได้ดำเนินการอย่างโปร่งใสและเท่าเทียมยุติธรรม โดยไม่กีดกันทางเพศ ศาสนา และสอดคล้องกับ

เกณฑ์การรับสมัครของราชวิทยาลัยพยาธิแพทย์แห่งประเทศไทยและแพทยสภา

 *** หากผ่านการอบรมดูงานระยะสั้น (elective) ก่อนการสัมภาษณ์อย่างน้อย 1 สัปดาห์ กับหน่วยงาน จะมีผลต่อการพิจารณาเพิ่มขึ้น

  1. ผลการศึกษาระดับแพทยศาสตรบัณฑิต เพื่อประเมินความรู้ทางวิชาการ

  2. ผลการสัมภาษณ์เพื่อประเมินเจตนคติและทัศนคติต่อวิชาชีพ

  3. จดหมายรับรองจากอาจารย์แพทย์ 3 ท่าน (Recommendation Letter)

    เพื่อประเมินการทำงาน ความรับผิดชอบ

  4. เอกสารแนะนำตนเอง ประวัติเกี่ยวกับครอบครัวและการศึกษา ความต้องการและจุดมุ่งหมายในการปฏิบัติงานที่ภาควิชาพยาธิวิทยาและความคาดหวังในอนาคตการ เป็นพยาธิแพทย์

  5. ประสบการณ์เกี่ยวข้องกับวิชาชีพทางพยาธิวิทยากายวิภาคและประสบการณ์ด้านอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการเป็นพยาธิแพทย์

  6. พิจารณาตามความต้องการของพื้นที่ ที่ผู้สมัครจะไปปฏิบัติงานหลังสำเร็จการฝึกอบรมตามนโยบายของแพทย์สภาที่ขอความร่วมมือให้ พิจารณาผู้มีต้นสังกัดเป็นกรณีพิเศษในการรับเข้าฝึกอบรมเข้าแพทย์ประจำบ้านโดยเฉพาะแพทย์ ที่รับทุนจากท้องที่ที่ขาดแคลนพยาธิแพทย์ เช่น  โรงพยาบาลในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้จะได้รับการพิจารณาพิเศษ

  7. สำหรับผู้ที่มีความพิการทางการศึกษาตามประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ ทางภาควิชาฯ มีนโยบายในการคัดเลือกผู้เข้ารับการฝึกอบรมดังนี้

8.   บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็น: ไม่รับเข้าฝึกอบรม

   8.1 (ตาบอดสี ตาเข ตาเหล่ ไม่จัดเป็นความพิการในทางกฎหมาย, สำหรับผู้สมัครเข้ารับการฝึกอบรมที่ตาบอดสีให้ส่งจักษุแพทย์ประเมิน หากตาบอดสีไม่รุนแรงอาจให้เข้ารับการฝึกอบรมได้ แต่หากตาบอดสีรุนแรงไม่ให้รับเข้าฝึกอบรม)

8.2   บุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน: ไม่รับผู้สมัครที่หูตึงตั้งแต่ปานกลางขึ้นไป ซึ่งหมายถึงหูข้างที่ดีกว่าได้ยินเสียงที่ความดัง >40 dB หรือ ได้ยินและเข้าใจคําพูด แต่ต้องพูดซํ้าหรือใช้เสียงดังกว่าปกติในระยะ 1 เมตร

     (อ้างอึงจากคู่มือ การวินิจฉัยและตรวจประเมินความพิการ ตามประกาศกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เรื่อง ประเภทและหลักเกณฑ์ความพิการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕)

8.3  บุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา: ไม่รับเข้าฝึกอบรม

8.4  บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย หรือการเคลื่อนไหว หรือสุขภาพที่คณะกรรมการมีความ     

เห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อการฝึกอบรมและการปฏิบัติงาน: ไม่รับเข้าฝึกอบรม

8.5  บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้: ไม่รับเข้าฝึกอบรม

8.6 บุคคลที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา: ไม่รับเข้าฝึกอบรม

8.7 บุคคลที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรม หรืออารมณ์: ไม่รับเข้าฝึกอบรม

8.8 บุคคลออทิสติก: ไม่รับเข้าฝึกอบรม

8.10 โรคหรือความผิดปกติอื่นๆ ซึ่งมิได้ระบุไว้

ที่คณะกรรมการเห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อการฝึกอบรมและการปฏิบัติงาน อาจแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญเฉพาะโรคหรือผู้เชียวชาญในแต่ละกรณีตรวจเพิ่มเติมได้


หมายเหตุ ภาควิชาไม่มีนโยบายการปิดกั้นโอกาสผู้พิการไม่เป็นอุปสรรค์ต่อการฝึกอบรมเป็นพยาธิแพทย์ จากผู้พิการอื่นๆ ดังกล่าวไว้ข้างต้น

 

ติดต่อสอบถามรายละเอียดที่ 02-256-4581 ต่อ 306 คุณนิภาพรรณ  (แนน)

                                 Email: pathology.chula@gmail.com 

 

 
 
 

Comments


  • Facebook Social Icon
@ 1873 ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย   อาคาร อปร.ชั้น 13 ถนนพระราม 4 เขตปทุมวัน  กรุงเทพมหานคร 10330
bottom of page