top of page

หลักสูตรฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน

สาขาพยาธิวิทยากายวิภาค

คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ฉบับ พ.ศ. 2565

1. ชื่อหลักสูตร
(ภาษาไทย)       หลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน เพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาพยาธิวิทยากายวิภาค
(ภาษาอังกฤษ)   Residency Training in Anatomic Pathology
2. ชื่อวุฒิบัตร
   (ภาษาไทย : ขื่อเต็ม)            วุฒิบัตรเพื่อแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาพยาธิวิทยากายวิภาค
    (ภาษาอังกฤษ : ชื่อเต็ม)       Diploma of the Thai Board of Anatomic Pathology
    (ภาษาไทย : อักษรย่อ)         ว.ว. สาขาพยาธิวิทยากายวิภาค
    (ภาษาอังกฤษ : อักษรย่อ)     Dip., Thai Board of Anatomic Pathology
 
3. หน่วยงานรับผิดชอบ
     ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภายใต้การดูแลของราชวิทยาลัยพยาธิแพทย์แห่งประเทศไทย
4. หลักการและเหตุผล
    การพัฒนาระบบบริการดูแลสุขภาพของประชาชน เป็นเรื่องสำคัญอย่างหนึ่งของประเทศไทยที่กำลังพัฒนาให้ทันกับสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน โดยเฉพาะทางเทคโนโลยี ซึ่งจำเป็นต้องมีบุคลากรทางการแพทย์ที่มีคุณภาพเหมาะสมกับสังคมยุคปัจจุบันมากขึ้น พยาธิแพทย์เป็นบุคลากรทางการแพทย์อาชีพหนึ่งที่เป็นความต้องการของประเทศอยู่มาก การผลิตพยาธิแพทย์ที่มีคุณภาพเหมาะสมกับยุคสมัย ไปปฏิบัติงานตามความต้องการของสถาบันต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของประเทศจึงเป็นหน้าที่ของคณะแพทย์ศาสตร์ในมหาวิทยาลัยต่างๆ และราชวิทยาลัยพยาธิแพทย์แห่งประเทศไทยในการดูแลของแพทยสภา ซึ่งคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็มีหน้าที่ผลิตพยาธิแพทย์ที่มีคุณสมบัติดังกล่าวด้วย
 
5. พันธกิจของหลักสูตร
     ผลิตแพทย์เฉพาะทางสาขาพยาธิวิทยากายวิภาคที่มีความรู้ทั้งด้านทฤษฎีและปฏิบัติ มีความสามารถและทักษะในการปฏิบัติงานทางพยาธิวิทยากายวิภาคทั่วไปได้อย่างมืออาชีพ และมีอิสระทางวิชาชีพ สามารถให้การวินิจฉัยโรคแบบองค์รวมได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมและมีวิจารณญาณ มีความใฝ่รู้และรู้จักวิธีการเรียนรู้สามารถสร้างความรู้ใหม่ได้ มีทักษะในการสื่อสารและใช้ระบบสารสนเทศ การทำงานเป็นทีม การบริหารจัดการและการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีสุขภาวะ ทัศนคติและเจตคติแห่งวิชาชีพที่ดี มีความรับผิดชอบและจรรยาบรรณทางการแพทย์ที่เหมาะสมต่อผู้ป่วย ผู้ร่วมงาน และองค์กร เข้าใจในระบบบริการสุขภาพแห่งชาติ สามารถปฏิบัติงานในชุมชนและทำประโยชน์ให้สังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับความต้องการของสังคม สิ่งแวดล้อมและเหมาะสมกับทรัพยากรและเศรษฐกิจของประเทศ สามารถสืบสานวัฒนธรรมและดำรงความเป็นไทยในกระแสโลกาภิวัฒน์ได้
6. แผนการฝึกอบรม
6.1 ระยะเวลาฝึกอบรม 3 ปี
6.2  แพทย์ประจำบ้านทุกคนต้องลงทะเบียนเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูงทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก แขนงวิชาพยาธิวิทยากายวิภาค คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
6.3. การฝึกอบรมใช้หลักการแพทย์ประจำบ้านเป็นศูนย์กลาง (Resident- centered) เพื่อกระตุ้นและสนับสนุนให้แพทย์ประจำบ้านรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ด้วยตนเองและสะท้อนการเรียนรู้นั้นๆ (Self-directed learning and reflection) โดยมีการเรียนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติเน้นการปฏิบัติและรับผิดชอบงานด้วยตนเอง (practice base training) มีการบูรณาการภาคทฤษฎีกับภาคปฏิบัติและบูรณาการกับงานบริการ มีการติดตาม  ตรวจสอบ กำกับดูแล ประเมินผล และให้ข้อมูลป้อนกลับ (feedback) อย่างสม่ำเสมอ
6.4.  มีคณะกรรมการบริหารฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านและนิสิตหลังปริญญา ซึ่งทำหน้าที่ในการบริหารดังนี้
  • จัดทำ ปรับปรุงและประเมินหลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านสาขาพยาธิวิทยากายวิภาคให้สอดคล้องกับหลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านสาขาพยาธิวิทยากายวิภาคของแพทยสภาและราชวิทยาลัยพยาธิแพทย์แห่งประเทศไทย
  • กำหนดนโยบาย วางแผน ควบคุมกำกับและประเมินผลการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านสาขาพยาธิวิทยากายวิภาคให้ได้มาตรฐานตามเกณฑ์ของหลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านสาขาพยาธิวิทยากายวิภาคของแพทยสภาและราชวิทยาลัยพยาธิแพทย์แห่งประเทศไทย เป็นระยะ
  • ดูแล ควบคุม กำกับการปฏิบัติงานของแพทย์ประจำบ้านให้เป็นด้วยความถูกต้องเหมาะสม เรียบร้อยและทำการประเมินแพทย์ประจำบ้านพยาธิวิทยากายวิภาคเป็นระยะๆ โดยมอบหมายให้อาจารย์ผู้สอน ผู้ร่วมงาน (ได้แก่ เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ) และเพื่อนแพทย์ประจำบ้านเป็นผู้ประเมิน
  • ติดต่อประสานงาน หน่วยงานต่างๆ ภายในโรงพยาบาล และสถาบันอื่นๆ ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อจัดสรรแพทย์ประจำบ้านฯ ไปศึกษาดูงานกับผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ ตามความเหมาะสมและความสนใจของผู้รับการฝึกอบรม
7. ความพร้อมในการเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐาน
       สถานภาพของหลักสูตร
     หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2565
8. สถานการณ์ภายนอกหรือการพัฒนาที่จำเป็นต้องนำมาพิจารณาในการวางแผนหลักสูตร
      8.1 สถานการณ์หรือการพัฒนาทางเศรษฐกิจ
             การพัฒนาทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน มุ่งสู่การเป็นทุนนิยมและมีการแข่งขันกันสูงทั้งในด้านวิชาการและเทคโนโลยี ตลอดจนค่าตอบแทนของบุคคลากร ซึ่งเป็นผลให้องค์ความรู้ด้านพยาธิวิทยาและอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับวิชาชีพทางพยาธิวิทยากายวิภาคมีการพัฒนามากขึ้น รวมทั้งความต้องการพยาธิแพทย์ที่มีความรู้ความสามารถทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางวิชาการและเทคโนโลยีเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อการวางแผนพัฒนาหลักสูตรให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวในปัจจุบันและในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
      8.2 สถานการณ์หรือการพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรม
             สังคมและวัฒนธรรมในปัจจุบันเป็นยุคของการสื่อสารทางเทคโนโลยีสารสนเทศและเปลี่ยนไปตาม กระแสโลกาภิวัฒน์ ซึ่งมีผลต่อการบริการทางวิชาการและการวิจัยทางพยาธิวิทยาเป็นอย่างมากความต้องการของผู้รับบริการและผู้ป่วยทางพยาธิวิทยาต้องการรายละเอียดและลึกซึ้งมากขึ้น ทำให้ต้องมีพยาธิแพทย์เชี่ยวชาญเฉพาะสาขามากขึ้น เพื่อตอบสนองต่อการวินิจฉัยโรคในปัจจุบันและอนาคตที่ต้องลงลึกซึ้งมากกว่าในอดีต และรองรับโรคใหม่ๆที่เกิดขึ้นทั้งในปัจจุบันและอนาคต ตลอดจนการสื่อสารกับผู้รับบริการที่ต้องมีการพัฒนาให้รวดเร็วและใช้ภาษาต่างประเทศเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของสังคมที่จะเปลี่ยนเป็นสังคมเอเซียนซึ่งจะมีชาวต่างประเทศมารับบริการมากขึ้น ดังนั้นจึงต้องมีการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับมาตรฐานระดับนานาชาติ
      8.3 ความจำเป็นด้านสาธารณสุขของประเทศ
             การขาดแคลนและความต้องการบุคลากรสาธารณสุขของประเทศนั้นมีอย่างต่อเนื่อง ดังนี้ในการวางแผนการจัดการฝึกอบรมจึงคำนึงถึงหลักข้อนี้จึงทำการมีการวางแผน อาทิ การคัดเลือกผู้สมัคร การเสนอขอศักยภาพการฝึกอบรมมีความสอดคล้องกับข้อมูลจากแพทยสภาเกี่ยวกับความต้องการบุคคลาการที่ขาดแคลนสาธารณสุขของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาขาพยาธิวิทยากายวิภาค นอกจากนี้มีการจัดเนื้อการถึงกระบวนการเรียนการสอนต่างๆ คำนึงถึงความต้องการด้านสาธารณสุขในชุมชุนและสังคม
9. ผลสัมฤทธิ์การฝึกอบรม
        พยาธิแพทย์ที่สำเร็จการฝึกอบรมจากภาควิชาพยาธิวิทยาคณะแพทย์ศาสตร์จุฬาฯมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ดังต่อไปนี้
   9.1 มีความรู้ ความสามารถและทักษะในการปฏิบัติงานพยาธิวิทยากายวิภาคได้อย่างมืออาชีพและมีความเป็นอิสระทางวิชาชีพ อย่างมีวิจารณญาณ
       โดยมีสมรรถนะหลักทั้ง 6 ด้าน ตามเกณฑ์ของราชวิทยาลัยพยาธิแพทย์แห่งประเทศไทยดังนี้
      1 ความรู้ [(medical knowledge (MK)]
         ความรู้พยาธิวิทยากายวิภาคทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ วิธีทำวิจัยทางพยาธิวิทยา และด้านอื่นที่เกี่ยวข้องได้แก่ หลักการบริหารจัดการห้องปฏิบัติการพยาธิวิทยากายวิภาค
         วิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐานประยุกต์ วิทยาการระบาด พฤติกรรมศาสตร์ สังคมศาสตร์และสิ่งแวดล้อม สามารถนำความรู้เหล่านี้ประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้
         อย่างมีประสิทธิภาพ
      2 ทักษะทางหัตถการและการดูแลผู้ป่วย [procedural skill (PS) and patient care (PC)]
         1.  มีความสามารถและทักษะทางหัตถการรวมทั้งเขียนรายงานการตรวจและวินิจฉัย Surgical pathology specimen, intraoperative specimen
             consultation, gynecologic และ non gynecologic cytology specimen ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
         2.  สามารถตรวจศพผู้ป่วย สรุปประวัติและการรักษา เขียนรายงาน วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้มาสรุปให้การวินิจฉัยสาเหตุการเสียชีวิตได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
         3.  สามารถทำ fine needle aspiration และวินิจฉัยโรคจากสารที่ดูดได้ ให้การดูแลรักษาและแนะนำผู้ป่วยได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
         4.  สามารถแปลผล immunohistochemical stain ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ใช้ประกอบการวินิจฉัยทางพยาธิวิทยาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
         5.  ให้คำปรึกษาวิเคราะห์ผลการตรวจทางพยาธิวิทยาแก่แพทย์ทางคลินิกเพื่อเป็นส่วนประกอบในการรักษาผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม
         6.  ปฏิบัติงานโดยคำนึงถึงระบบคุณภาพความปลอดภัยและบริหารจัดการห้องปฏิบัติการดูแลทางพยาธิวิทยาได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
     3 การเรียนรู้จากการปฏิบัติและพัฒนาตนเอง [practice-based learning and improvement (PBLI)]
         1. สามารถเรียนรู้ รู้จักวิธีการเรียนรู้ และใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศสืบค้นข้อมูลใหม่ๆและใช้ประสบการณ์การปฏิบัติงานและข้อมูลป้อนกลับ (Feedback)
             มาพัฒนาตนเองให้มีความสามารถในการวินิจฉัยและวิจัยทางพยาธิวิทยากายวิภาคเพิ่มขึ้น 
          2. สามารถปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบตามมาตรฐานการประกันคุณภาพทางห้องปฏิบัติการทางพยาธิวิทยากายวิภาค ที่รับรองโดยราชวิทยาลัยพยาธิแพทย์แห่ง
             ประเทศไทยและมาตรฐานห้องปฏิบัติการ ISO 15189 /15190
          3. สามารถทำการวิจัยทางการแพทย์และสาธารณสุขได้
     4 ทักษะปฎิสัมพันธ์และการสื่อสาร [interpersonal and communication skill (ICS)]
         1. สามารถนำเสนอข้อมูลผู้ป่วย ผลการตรวจวินิจฉัยทางพยาธิวิทยาและอภิปรายปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถ่ายทอดความรู้และทักษะให้นิสิตแพทย์ และ
            บุคลากรทางการแพทย์ได้
         2. มีมนุษย์สัมพันธ์ ทำงานร่วมกับผู้ร่วมงานทุกระดับได้อย่างเหมาะสม
         3. เป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำแก่แพทย์และบุคลากรอื่น โดยเฉพาะทางพยาธิวิทยากายวิภาคได้
     5 ความเป็นมืออาชีพ [professionalism (P)]
        1. มีคุณธรรม จริยธรรม ทัศนคติและเจตนคติแห่งวิชาชีพที่ดี มีความรับผิดชอบและจรรยาบรรณทางการแพทย์ที่เหมาะสมต่อผู้ป่วยและญาติ ผู้ร่วมงาน
           เพื่อนร่วมวิชาชีพและสังคม รวมทั้งเคารพสิทธิผู้ป่วย
        2. มีความใฝ่รู้ และสามารถพัฒนาไปสู่ความเป็นผู้เรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิต
        3. มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมายและคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม
     6 การปฏิบัติงานให้เข้ากับระบบ [system-based practice (SBP)]
        1.  สามารถปฏิบัติงานด้วยตนเอง และเป็นทีมร่วมกับบุคลากรทางการแพทย์อื่นๆ  เพื่อส่งเสริมให้เกิดความปลอดภัยและประสิทธิภาพในการดูแลผู้ป่วย และสอด
             คล้องกับระบบสุขภาพของหน่วยงานและประเทศ
        2.  ใช้ทรัพยากรสุขภาพอย่างมีคุณค่าและเหมาะสม สามารถปรับเปลี่ยนการปฏิบัติงานเพื่อผู้ป่วยให้เข้ากับบริบทของการบริการสาธารณสุขได้ตามมาตรฐานวิชาชีพ
        3.  มีส่วนร่วมในการตรวจสอบความผิดพลาดของระบบงานและมีส่วนร่วมหาแนวทางแก้ไขป้องกัน
   9.2. คุณลักษณะเพิ่มเติมตามคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้แก่
  1. เป็นผู้มีสุขภาวะ ตระหนักถึงความสำคัญและรู้วิธีการดูแลสุขภาพกายและจิตของตนเอง มีบุคลิกภาพที่เหมาะสม สามารถปรับตัวเองให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมต่างๆได้
  2. มีจิตสำนึกห่วงใยต่อสังคม สิ่งแวดล้อมและสาธารณสมบัติ มีจิตอาสา มุ่งทำประโยชน์ต่อสังคม      
  3. สำนึกในคุณค่าของตนและความเป็นคนไทย สามารถทำงานและอยู่ร่วมกับผู้ที่มีวัฒนธรรมและศาสนาแตกต่าง โดยยังดำรงความเป็นตัวของตัวเอง และรักษาวัฒนธรรมไทยได้อย่างเป็นอิสระ ยั่งยืน และมีสันติสุข
 
10. ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
      10.1 ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลัก
                   10.1.1 ฝ่ายบัณฑิตศึกษา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
                   10.1.2 แพทยสภา/ราชวิทยาลัยพยาธิแพทย์แห่งประเทศไทย
                   10.1.3 ผู้รับการฝึกอบรม
                   10.1.4 อาจารย์ผู้สอน
                   10.1.5 กรรมการบริหารฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน สาขาพยาธิวิทยากายวิภาค
      ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
      10.2 ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ
                   10.2.1 สถาบันสมทบ
                   10.2.2 ผู้ใช้บัณฑิต
                   10.2.3 ผู้รับบริการ
                   10.2.4 ผู้ปฏิบัติงานในสาขาพยาธิวิทยากายวิภาคที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ช่วยพยาธิแพทย์  นักวิทยาศาสตร์
bottom of page